Tag: ของเล่นเด็ก 3 ขวบ

ของเล่นสำหรับเด็ก 3 ขวบ

ของเล่นสำหรับเด็กวัยเรียนของเล่นสำหรับเด็กวัยเรียน

เด็กในช่วงวัย 3 – 5 ขวบเป็นวัยที่กำลังมีพัฒนาการต่อจากช่วงวัยแรกเกิดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องการการพัฒนาทั้งระบบประสาทและสมอง รวมทั้งระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้เหมาะสม เตรียมพร้อมกับการเข้าโรงเรียนและทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อไป ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงวัยเรียนระดับต้นแล้วจึงต้องมีการเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ให้แก่เด็กอย่างเหมาะสมและเหมาะกับวัยของเด็ก การที่ผู้ปกครองจะหาของเล่นเด็ก 3 ขวบมาให้น้องได้เล่นนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก เพราะของเล่นในช่วงเด็กวัยนี้จะไม่ใช่ของเล่นที่ลักษณะนิ่มหรือลักษณะที่เน้นความปลอดภัย แต่จะเน้นน้ำหนักเป็นหลักแล้วแต่จะต้องให้ความสำคัญกับการใช้สกิลการแก้ปัญหาในการเล่นของเล่นชิ้นนั้นเพิ่มเข้ามาเป็นหลัก   การเลือกซื้อของเล่นในวัยเรียน  ซื้อของเล่นชิ้นนั้นจะต้องฝึกทักษะและส่งเสริมการใช้สมองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม จะต้องมีการใช้ความคิดหลายมิติ มีภาพที่มีทั้งรูปทรงรูปร่างแนวเส้นแสงและเงา รวมทั้งสีสันอย่างครบถ้วน เนื่องจากเด็กวัยนี้จะต้องใช้ทักษะในทุกด้านผสมผสานกัน เพื่อเสริมสร้างทักษะและสามารถเจริญเติบโตไปสู่วัยช่วงวัยเด็กที่โตอย่างเหมาะสมและจะต้องมีการเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อเป็นการฝึกความคิดเชื่อมโยงระหว่างสิ่งของต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน  ของเล่นเด็ก 3 ขวบควรเน้นและฝึกทักษะในด้านความจดจำอย่างเช่น เกมจำคำศัพท์ เกมจับคู่ เกมโยงเส้น หรือจะเป็นของเล่นที่เน้นการเรียงลำดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น A ถึง Z หรือ ก.ไก่ถึง ฮ.นกฮูก เป็นต้น อาจจะเป็นการขีดจุดต่อจุดเลข 1 จนถึง 100 การเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานเบื้องต้นในชีวิตประจำวันอย่างง่าย ๆ ควรมีการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ 3 ควบคู่ไปกับภาพจะทำให้เด็กสามารถจดจำและเข้าใจพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นได้ง่ายมากขึ้น  สุดท้ายนี้ ในช่วงวัยนี้ผู้ใหญ่ควรใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็กไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันในขณะที่เด็กเล่นของเล่นเด็ก 3 ขวบ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว ให้เด็กได้กล้าคิด กล้าพูด กล้าถามกับผู้ปกครอง เพราะคุณพ่อคุณแม่เปรียบเป็นคุณครูคนแรกของลูก ผู้ปกครองควรจะใช้เวลาในการสอนวิธีการเล่นเขาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนให้เขาคิดแก้ปัญหาคอยแนะนำเพื่อชักจูงให้เขาคิดไปในแนวทางที่ถูก แต่หากว่าเด็กมีความคิดที่สร้างสรรค์และแตกต่างออกไปก็จะต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของเด็ก ไม่ต่อต้านหรือโต้แย้งความคิดของลูก ควรรับฟังหากเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องควรจะสั่งสอนให้เด็กได้เข้าใจในสิ่งที่ถูก ไม่ดุไม่เสียงดังใส่ลูกเพราะจะเป็นผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูกในอนาคตได้ ควรใจเย็นและเข้าใจลูกให้มากที่สุด